ธนบัตร 1 บาท แบบ 7  ด้านหน้า
ธนบัตร 1 บาท (ปี 2488)

ธนบัตร 5 บาท แบบ 7 รุ่น 1  ด้านหน้า
ธนบัตร 5 บาท รุ่น 1 (ปี 2488)

ธนบัตร 5 บาท แบบ 7 รุ่น 2 ด้านหน้า
ธนบัตร 5 บาท รุ่น 2 (ปี 2488)

ธนบัตร 10 บาท แบบ 7 รุ่น 1 ด้านหน้า
ธนบัตร 10 บาท รุ่น 1 (ปี 2488)

ธนบัตร 10 บาท แบบ 7 รุ่น 2 ด้านหน้า
ธนบัตร 10 บาท รุ่น 2 (ปี 2488)

ธนบัตร 50 บาท แบบ 7 ด้านหน้า
ธนบัตร 50 บาท (ปี 2488)

ราคาโดยประเมิน คลิกดูในธนบัตรแต่ละแบบ


ข้อมูลธนบัตร

ในปี 2488 ซึ่งเป็นช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 การสู้รบในแถบเอเชียมีความรุนแรงขึ้น ธนบัตรที่สั่งพิมพ์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถลำเลียงส่งมาได้เนื่องจากฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีเส้นทางการขนส่งลำเลียงของกองทัพญี่ปุ่นอย่างหนัก ธนบัตรในส่วนที่รัฐบาลไทยควบคุมการผลิตเองก็ทำได้ไม่เต็มที่เพราะต้องคอยหลบภัยทางอากาศจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร อีกทั้งภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการใช้ธนบัตรมีมากขึ้น จึงเกิดภาวะขาดแคลนธนบัตรอย่างมาก

รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจให้โรงพิมพ์ของทางราชการรวมไปถึงโรงพิมพ์เอกชนที่มีผลงานในระดับมาตรฐานพิมพ์ธนบัตรให้ โดยแยกหน้าที่การพิมพ์ตัวธนบัตรและการพิมพ์หมายเลขและลายเซ็นเป็นคนละโรงพิมพ์เพื่อเป็นการควบคุมด้านความปลอดภัย

ธนบัตรแบบ 7 นี้พิมพ์ขึ้นเป็นการเร่งด่วนในขณะที่กระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด คุณภาพของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร การผสมสีหมึกพิมพ์ก็ไม่ได้มาตรฐานทำให้ธนบัตรชนิดราคาเดียวกันมีสีที่ค่อนข้างแตกต่างกัน

เนื่องจากความขาดแคลนกระดาษพิมพ์จึงทำให้ต้องลดขนาดธนบัตรให้มีขนาดเล็กลง รัฐบาลจึงลดขนาดของธนบัตร 5 บาท รุ่น 2 และลดขั้นตอนการพิมพ์หมายเลขและลายเซ็นให้เป็นการพิมพ์ด้วยหมึกดำสีเดียว