ธนบัตร 100 บาท แบบ 10 ด้านหน้า
ธนบัตร 100 บาท  แบบ 10 ด้านหลัง

ราคาโดยประเมิน

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น เสริม-ป๋วย สภาพ UNC ราคาประมาณ 1,800 - 1,900 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น เสริม-พิสุทธิ์ สภาพ UNC ราคาประมาณ 2,100 - 2,300 บาท
  • ธนบัตรตัวอย่าง ไม่มีลายเซ็น พิมพ์ "SPECIMEN" สภาพ UNC ราคาประมาณ 42,000 บาท
  • เลขตอง xxxxxx ลายเซ็น เสริม-ป๋วย สภาพ VF ราคาประมาณ 14,000 - 15,000 บาท
  • ชุดเลขตอง 1's - 9's + 1000000 (รวม 10 ฉบับ) ลายเซ็น เสริม-ป๋วย สภาพ UNC ราคาประมาณ 360,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    เนื่องจากธนบัตรชนิดราคา 100 บาทแบบเดิมมีเพียงการพิมพ์หมึกเส้นนูนสีแดงเพียงสีเดียว อีกทั้งยังใช้งานมานานถึง 20 ปีจึงมีการปลอมธนบัตรจำนวนมาก รัฐบาลจึงออกธนบัตร 100 บาท แบบ 10 ที่ปลอมแปลงได้ยากขึ้น มีการเพิ่มหมึกเส้นนูนสีน้ำเงินและพิมพ์สีพื้นสอดสีหลายสี เสริมด้วยเส้นมั่นคงใสฝังในเนื้อกระดาษและมีข้อความขนาดจิ๋วคำว่า ประเทศไทย เป็นระยะๆ ในเนื้อเส้นมั่นคง

    ธนบัตรแบบ 10 ออกใช้เพียงชนิดราคาเดียวคือ 100 บาท ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2511 เป็นธนบัตรที่พิมพ์จากบริษัทโธมัส เดอ ลารู

    ขนาดธนบัตร

    8.7 x 14.50 เซนติเมตร

    หมวดอักษรที่ผลิต

    ข๑ - ข๔๙๓

    ธนบัตรด้านหน้า

    สีหลักของธนบัตรเป็นสีแดงสอดสีน้ำเงิน มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องแบบจอมทัพตรงกลางขวา เว้นที่ว่างด้านซ้ายล่างเป็นลายน้ำ

    ธนบัตรด้านหลัง

    ภาพประธานคือภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    นายเสริม วินิจฉัยกุล (8 ก.ค. 2508 - 15 ต.ค. 2516)

    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ (11 พ.ย. 2502 - 15 ส.ค. 2514)
    นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ (16 ส.ค. 2514 - 23 พ.ค. 2518)

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง

    การพิมพ์หมึกนูน ลายน้ำในเนื้อกระดาษ ฝังแถบเส้นมั่นคงลงในเนื้อกระดาษ